Tuesday, June 12, 2018

ชนิดของระบบสารสนเทศ

ชนิดของระบบสารสนเทศ
1.ระบบการประมวลผลรายการ (Transaction processing systems :TPS)
การดำเนินงานขององค์กรหนึ่ง ๆ นั้น จะประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย ในการปฏิบัติงานแต่ละกิจกรรมนั้น พบว่าต้องใช้ TPS เป็นพื้นฐานเสมอ ซึ่ง TPS เหล่านี้ได้มาจากข้อมูลที่ถูกส่งจากแผนกหนึ่งไปอีกแผนกหนึ่ง การประมวลผลแบบนี้ อาจจะถือได้ว่าเป็นกิจกรรมหลักขององค์กรในแต่ละวัน โดยเริ่มจากการเก็บรวบรวมข้อมูล ทำการวิเคราะห์อย่างมีระบบตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ รวมกับข้อคิดบางอย่างเป็นข่าวสารที่นำไปใช้ได้ทันที สามารถเขียนเป็นวัฏจักรของการประมวลผลได้ดังนี้
วิธีการประมวลผลมี 2 วิธีใหญ่ ๆ คือ ทำด้วยมือ (manual data processing)และการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (electronic data processing) ซึ่งอาจจะเป็นแบบ batch หรือแบบ on-line ก็ได้
ตัวอย่าง เช่น ระบบสารสนเทศของห้างสรรพสินค้า ที่รับชำระค่าสินค้า ออกใบเสร็จ ตัดสต็อกสินค้าอัตโนมัติ ออกรายงานการขายประจำวันต่อ พนักงานขายได้
2.ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation Systems : OAS)

ระบบสารสนเทศสำนักงาน (Office Information Systems: OIS) หรือ ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation Systems: OAS) เป็นระบบสารสนเทศที่นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพใน การทำงานของผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหาร แบ่งได้เป็น 5 ประเภท คือ ระบบจัดการเอกสาร ระบบการจัดการข่าวสาร ระบบการทำงานร่วมกัน /ประชุมทางไกล ระบบการประมวลภาพ และระบบการจัดการสำนักงาน

3.ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (management information systems: MIS
MIS นี้เปรียบเสมือนเป็นผู้ช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจ (decision making) และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ซึ่งสารสนเทศที่นำมาใช้ใน MIS นี้ได้มาจาก TPS แต่อาจจะมีการใช้สารสนเทศหรือความรู้จากที่อื่นประกอบด้วย เช่น แนวโน้มทางด้านเศรษฐศาสตร์ ปริมาณและความต้องการในการกู้ยืมเงินของประชาชน เป็นต้น
การตัดสินใจบางอย่างในองค์กรธุรกิจ อาจจะอยู่ในรูปแบบที่เกิดขึ้นเป็นประจำแบบปกติ (recur regularly) เช่น ต้องการข้อมูลแบบนี้ทุก ๆ อาทิตย์ ทุก ๆ เดือน หรือทุก ๆ ไตรมาส เป็นต้น ซึ่งกลุ่มของสารสนเทศที่ต้องากรนั้นมักจะเป็นกลุ่มที่แน่นอนตายตัว สามารถเขียนโครงสร้างของการตัดสินใจหรือรูปแบบรายงานไว้ล่วงหน้าและสามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจ เมื่อมีเหตุการณ์หรือเงื่อนไขดังกล่าวเกิดขึ้น ซึ่งใช้การวิเคราะห์ขั้นต้นเท่านั้น
4.สารสนเทศที่ใช้ในระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (decision support systems :DSS)
การตัดสินใจบางอย่างไม่ได้เกิดขึ้นเป็นประจำแบบปกติ คืออาจจะมีบางปัญหาที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เข้ามาอย่างกระทันหันและต้องการตัดสินใจ โดยบางครั้งอาจจะเกิดขึ้นเพียงครั้งเกียว หรือไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย DSS จะเป็นเสมือนผู้ช่วยผู้บริหารที่จะต้องทำการตัดสินใจ เกี่ยวกับสถานะภาพเฉพาะบางอย่าง อาจจะเรียกได้ว่าเป็นการตัดสินใจแบบไม่เป็นโครงสร้าง (unstructured) หรือกึงโครงสร้าง (semi-structured) ซึ่งยากที่จะเตรียมรูปแบบของรายงานที่แน่นอนไว้ล่วงหน้า จะเห็นว่า DSS นี้เป็นระบบสารสนเทศที่ยืดหยุ่นมากกว่าระบบสารสนเทศชนิดอื่น ๆ ต้องใช้การวิเคราะห์ชั้นสูง

Thailand 4.0

Thailand 4.0

Thailand 4.0 เป็นวิสัยทัศน์เชิงนโยบาย ที่เปลี่ยนเศรษฐกิจแบบเดิมไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม….ซึ่งกว่าจะมาเป็น Thailand 4.0 ก็ต้องผ่าน 1.0 2.0 และ 3.0 กันมาก่อน
·         Thailand 1.0 ก็คือยุคของเกษตรกรรม คนไทยปลูกข้าว พืชสวน พืชไร่ เลี้ยงหมู เป็ด ไก่ นำผลผลิตไปขาย สร้างรายได้และยังชีพ
·         Thailand 2.0 ซึ่งก็คือยุคอุตสาหกรรมเบา ในยุคนี้เรามีเครื่องมือเข้ามาช่วย เราผลิตเสื้อผ้า กระเป๋า เครื่องดื่ม เครื่องเขียน เครื่องประดับเป็นต้น ประเทศเริ่มมีศักยภาพมากขึ้น
·         Thailand 3.0 (ซึ่งเป็นยุคปัจจุบัน ) เป็นยุคอุตสาหกรรมหนัก เราผลิตและขายส่งออกเหล็กกล้า รถยนต์ ก๊าซธรรมชาติ ปูนซีเมน เป็นต้น โดยใช้เทคโนโลยีจากต่างประเทศ เพื่อเน้นการส่งออก
ในช่วงแรก Thailand 3.0 เติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่ปัจจุบันกลับเติบโตเพียงแค่ 3-4% ต่อปีเท่านั้น ประเทศไทยจึงตกอยู่ช่วงรายได้ปานกลางมาเป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว ในขณะที่ทั่วโลกมีการแข่งขันที่สูงขึ้น เราจึงต้องเปลี่ยนสู่ยุค Thailand 4.0 เพื่อให้ประเทศไทยให้กลายเป็นกลุ่มประเทศที่มีรายได้สูง
ในปัจจุบันประเทศไทยยังติดอยู่ในโมเดลเศรษฐกิจแบบ ทำมาก ได้น้อย” จึงต้องการปรับเปลี่ยนเป็น ทำน้อย ได้มาก ก็จะต้องเปลี่ยนจากการผลิตสินค้า โภคภัณฑ์” ไปสู่สินค้าเชิง นวัตกรรม” และเปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วย

 ภาคอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
·         อย่างการเกษตรก็ต้องเปลี่ยนจากการเกษตรแบบดั้งเดิม ไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ ที่เน้นการบริหารจัดการและใช้เทคโนโลยีหรือ Smart Farming โดยเกษตรกรต้องร่ำรวยขึ้น และเป็นเกษตรกรแบบเป็นผู้ประกอบการ
·         เปลี่ยนจาก SMEs แบบเดิมไปสู่การเป็น Smart Enterprises และ Startups ที่มีศักยภาพสูง
·         เปลี่ยนจากรูปแบบบริการแบบเดิมซึ่งมีการสร้างมูลค่าค่อนข้างต่ำ ไปสู่บริการที่มีมูลค่าสูง
·         เปลี่ยนจากแรงงานทักษะต่ำไปสู่แรงงานที่มีความรู้และทักษะสูง
โมเดลของ Thailand 4.0 นั่นคือ มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน


ซึ่งโมเดลนี้จะสำเร็จได้ ต้องใช้แนวทาง สานพลังประชารัฐ โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน ธนาคาร ประชาชน สถาบันศึกษาและสถาบันวิจัยต่างๆ ประกอบกับการส่งเสริม SME และ Startup เพื่อขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน พร้อมต้องมีโครงสร้างด้านการสื่อสารและโทรคมนาคมที่มีคุณภาพ มีอินเตอร์เน็ตที่คลอบคลุมประชากรมากที่สุด เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงทุกภาคส่วนได้อย่างไม่สะดุด
โครงสร้างของ ICT ก็จะเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จ เราจะก้าวข้ามผ่านกับดักประเทศรายได้ปานกลางไปสู่รายได้สูง ในยุค Thailand 4.0 ได้ก็ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย เพื่อพัฒนาประเทศไปสู่เป้าหมายให้ได้

องค์ประกอบระบบสารสนเทศ

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ

องค์ประกอบของสารสนเทศ
1. ฮาร์ดแวร์
      1.1. ฮาร์ดแวร์ หมายถึง ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ จอภาพ จอสัมผัสเป็นต้น
2. ซอฟต์แวร์
   2.1. ซอฟต์แวร์ หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ที่ใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามคำสั่งของผู้ใช้งาน
      2.1.1. ระบบปฏิบัติการ
      2.1.2. โปรแกรมอรรถประโยชน์
      2.1.3. โปรแกรมขับอุปกรณ์ หรือดีำวซ์ไดรเวอร์
      2.1.4. โปรแกรมแปลภาษา
   2.2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์
      2.2.1. ซอฟต์แวร์ประยุค หมายถึง ชุดคำสั้งที่เขียนขึ้นเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามวัตถุประสงค์เฉพาะบางอย่าง ซอฟต์แวร์อาจเขียนขึ้นโดยใช้โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์
3. ข้อมูล
   3.1. ข้อมูลจะถูกรวบรวมและป้อนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์โดยผ่านอุปกรณ์ของหน่วยรับเข้า มีโครงสร้างในการจัดเก็บระบบเพื่อการสืบค้นที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ข้อมูลจะถูกจัดเก็บอยู่ในหน่วยความจำ ก่อนที่จะถูกย้ายไปในหน่วยเก็บข้อมูล
4. บุคลากร
   4.1. บุคลากรเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของระบบสารสนเทศ ในที่นี้บุคลากรหมายถึงผู็พัฒนาระบบสารสนเทศและบุคลากรที่เป็นผูใช้ระบบสารสนเทศ
5. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
   5.1. ระบบสารสนเทศต้องมีขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เป็นลำดับขั้นตอนชัดเจน เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าใจได้ง่าย และดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ระบบสารสนเทศ

ระบบสารสนเทศ

ระบบสารสนเทศ

ระบบสารสนเทศ

1. ระบบสารสนเทศ

1.1. ระบบอย่างง่ายและระบบซับซ้อน

1.2. ระบบเปิดและระบบปิด

1.3. ระบบถาวรและระบบชั่วคราว

1.4. ระบบคงที่และระบบเคลื่อนไหว

2. ระบบสารสนเทศแบบประมวลรายการ

2.1. หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ใช้ในการเปลี่ยนข้อมูลดิบจากการปฏิบัติงานให้อยู่ในรปแบบที่เครื่ิองจักร

3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

3.1. เปลี่ยนเป็นระบบย่อยของระบบสารสนเทศเพื่อจัดการจัดการ

4. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม

4.1. หมายถึง การผสมผสานการใช้งานระหว่าง ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ ภาษา และ กระบวนการเพื่อการสนับสนุนการประชุมกลุ่ม

5. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ

5.1. เป็นแนวคิดในการนำเอาระบบเครือข่ายใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สำนักงานต่างๆ ผนวกด้วยซอฟต์แวร์สำหรับช่วยงานในสำนักงาน

6. ปัญญาประดิษฐ์

6.1. หมายถึง ความฉลาดเทียมที่สร้างขึ้นให้กับไม่มีสิ่งมีชีวิต ปัญญาประดิษฐ์เป็นสาขาหนึ่งด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์

7. ระบบสารสนเทศเพ่อผู้บริหารระดับสูง

7.1. ระบบสานสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยเฉพาะเพื่อขึ้นโดยเฉพาะความต้องการทักษะและความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศ

8. ระบบสารสนเทศสารสนเทศภูมิศาสตร์

8.1. คือ กระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้กำหนดข้อมูลและสารสนเทศที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งเชิงพื่นที่